การยาแนวกระเบื้องบริเวณลานจอดรถ ผนังภายนอกอาคาร พื้นที่ใช้งานหนัก สั่นสะเทือน
บริเวณลานจอดรถ ผนังภายนอกอาคาร จัดเป็นพื้นที่ใช้งานหนักเพราะมีการสัญจรไปมาสูง มีแรงสั่นสะเทือน การยาแนวกระเบื้องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกกาวยาแนวที่มีความยืดหยุ่นสูง
ปัญหา

เลือกกาวยาแนวที่เหมาะกับการใช้งาน
บริเวณลานจอดรถ ผนังภายนอกอาคาร จัดเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานหนัก สัญจรไปมาสูง มีการสั่นสะเทือน การเลือกใช้กาวยาแนวจำเป็นต้องพิจารณา
1. เป็นกาวยาแนวที่มีส่วนผสมของสารโพลีเมอร์ ที่มีความสามารถในการยึดเกาะสูง
2. เป็นกาวยาแนวที่มีความสามารถในการรับแรงกด (Compressive Strength) สูง เพื่อรองรับการใช้งานหนัก
3. เป็นกาวยาแนวที่มีสารโพลีเมอร์ช่วยเรื่องความยืดหยุ่น และการรับแรงกระแทกได้ดี (Impact Load)

บริเวณที่ใช้งานหนักพื้นผิวมีการเคลื่อนตัวมาก
บริเวณลานจอดรถ หรือห้างสรรพสินค้า เป็นบริเวณที่มีการสัญจรสูงและมักเป็นพื้นที่กว้าง จำเป็นต้องทำรอยต่อ (Movement Joint) เพื่อรองรับการเคลื่อนตัวของพื้นผิวเพื่อป้องกันปัญหากระเบื้องแตกและหลุดร่อน โดยควรทำรอยต่อ (Movement Joint) กว้างประมาณ 5-6 มม. ทุกๆ 60 ตารางเมตร สำหรับกระเบื้องขนาดเล็ก (ไม่เกิน 30x30 ซม.) และทุกๆ 30 ตารางเมตร สำหรับกระเบื้องแผ่นใหญ่มากกว่า 30x30 ซม.
แนวทางแก้ไข
การยาแนวกระเบื้องบริเวณพื้นที่ที่ใช้งานหนักหรือสัญจรมาก ต้องเลือกใช้กาวยาแนวชนิดยืดหยุ่นที่มีการยึดเกาะสูง รับแรงกด (Compressive strength) ได้สูง เพื่อรองรับน้ำหนักและการเคลื่อนตัวของกระเบื้องและพื้นผิว แนะนำให้ใช้กาวยาแนวยืดหยุ่น เวเบอร์คัลเลอร์ เอาท์ไซด์
ขั้นตอนการใช้งาน

1. เตรียมพื้นผิว
- กรณีพื้นปูนปรับระดับหรือปูนฉาบ ควรทิ้งให้ซีเมนต์แห้งอย่างน้อย 1-3 สัปดาห์
- ทำรอยต่อ (Movement Joint) เพื่อรองรับการขยายตัวกว้างประมาณ 5-6 มม. อุดรอยต่อด้วย Special Silicone Sealants
- บริเวณหักมุมหรือมุมเสาหรือบริเวณรอยต่อของพื้นผิวต่างชนิดกัน ควรเว้นรอยต่อประมาณ 5-6 มม. และอุดรอยต่อด้วย Special Silicone Sealants

2. ปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์ชนิดยืดหยุ่น เวเบอร์ไทล์ เฟล็กซ์
- ทิ้งให้กาวซีเมนต์แห้งสนิทอย่างน้อย 24 ชม. ก่อนยาแนว