การปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์

การปูกระเบื้องด้วยปูนผสมทรายหรือปูกระเบื้องด้วยวิธี ปูสด ทำให้เกิดปัญหากระเบื้องแตกหลุดร่อน

ปัญหา

ปัจจัยที่มีผลทำให้กระเบื้องหลุดร่อน:

• การปูกระเบื้องโดยใช้ปูนผสมทรายป้ายใต้แผ่นหลังกระเบื้องเป็นจุดๆ จะทำให้มีช่องว่างระหว่างแผ่นกระเบื้องกับพื้นผิว เป็นสาเหตุทำให้กระเบื้องแตกหักง่าย หรือกรณีมีน้ำรั่วซึม น้ำก็สามารถไหลไปตามช่องว่าง ทำให้เกิดปัญหากับพื้นผิวบริเวณอื่นๆ ได้

• กรณีใช้กาวซีเมนต์ปูกระเบื้องแต่ปูผิดวิธี เช่น การป้ายกาวซีเมนต์ใต้แผ่นกระเบื้องเป็นจุดๆ แบบ ซาลาเปา หรือการใช้เกรียงใบโพธิ์ปาดกาวไปที่หลังกระเบื้อง จะทำให้ประสิทธิภาพของกาวซีเมนต์ลดลง อันเป็นสาเหตุให้กระเบื้องเกิดการหลุดร่อนได้ภายหลัง

• การที่กาวซีเมนต์มีประสิทธิภาพการยึดเกาะดี คือ ควรใช้เกรียงหวีหรือเกรียงฟันฉลามปาดกาวซีเมนต์ลงบนพื้นผิว เกลี่ยให้ทั่วเพื่อรักษาระดับความหนาของกาวซีเมนต์ให้สม่ำเสมอ ในบางกรณี เช่น กระเบื้องขนาดใหญ่หรือหลังกระเบื้องมีร่อง จำเป็นต้องปาดกาวซีเมนต์ใต้แผ่นกระเบื้องอีกชั้นหนึ่งด้วย

• การปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์แต่นำกระเบื้องไปแช่น้ำ จะทำให้สัดส่วนระหว่างน้ำกับกาวซีเมนต์ที่ผู้ผลิตออกแบบมาแล้วเกิดความคลาดเคลื่อนไป ซึ่งอาจส่งผลให้กระเบื้องไหลกรณีปูที่ผนังหรือประสิทธิภาพการยึดเกาะของกาวซีเมนต์ลดลง ดังนั้นไม่ควรนำกระเบื้องไปแช่น้ำก่อนปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์ เวเบอร์ • กรณีปูกระเบื้องแผ่นใหญ่แบบวิธีดั้งเดิม คือ การปูสด โดยใช้ซีเมนต์ผสมทรายปูกระเบื้องและปรับระดับไปพร้อมกัน วิธีนี้กระเบื้องจะหลุดร่อนและแตกตามมุมได้ภายหลัง

• การปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์จำเป็นต้องเลือกประเภทของกาวซีเมนต์ให้ถูกต้องกับการใช้งาน เช่น ถ้าปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ควรใช้กาวซีเมนต์เกรดพิเศษที่มีส่วนผสมของสารโพลีเมอร์สำหรับกระเบื้องแผ่นใหญ่โดยเฉพาะ

แนวทางแก้ไข

  • ใช้กาวซีเมนต์สำหรับปูกระเบื้องทุกครั้ง และต้องเลือกประเภทกาวซีเมนต์ให้เหมาะสมกับชนิดกระเบื้องและการใช้งาน
  • ใช้เกรียงหวีร่วมกับกาวซีเมนต์ หลีกเลี่ยงการปูด้วยวิธีแบบซาลาเปา เพราะกระเบื้องจะแตกหักง่าย
  • กรณีปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ ควรปรับระดับพื้นผิวก่อน จากนั้นจึงปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์
  • การเตรียมพื้นผิว

    สำหรับพื้นผิวใหม่ : พื้นผิวต้องเรียบ แข็ง ได้ระดับ สะอาด แห้ง และการดูดซึมน้ำอยู่ในระดับปกติ ถ้าพื้นผิวเป็นผนังปูนฉาบหรือปูนปรับระดับใหม่ ควรใช้เวลาบ่มคอนกรีตตามมาตรฐาน (คือ 7 วัน ต่อความหนา 1 ซม.) ก่อนปูกระเบื้อง

    สำหรับพื้นผิวเดิม : ตรวจสภาพพื้นผิว โดยขูดลอกสีที่หลุดออก

    • พื้นผิวที่ไม่เรียบหรือชำรุดเกิน 5 มม. ซ่อมแซมด้วยมอร์ต้าหรือกาวซีเมนต์
    • จากนั้นฉาบตกแต่งพื้นผิวให้เรียบ ทิ้งไว้ 48 ชม. ก่อนปูกระเบื้อง
    • กำจัดเศษวัสดุ เช่น ผงปูน ไขมัน ฝุ่น คราบมันต่างๆ ที่ติดอยู่ตามพื้นผิวออกให้หมด
    • ถ้าพื้นผิวมีรูพรุนมาก (การซึมซับน้ำสูง) หรือในบริเวณที่อากาศแห้งหรือลมแรง จำเป็นต้องทำให้พื้นผิวนั้นเปียกชุ่มและซึมซับน้ำให้อิ่มตัวก่อนปูกระเบื้อง
    • พื้นผิวต้องแห้ง ระดับความชื้นอย่างมากที่สุด 3%

    กรณีปูทับกระเบื้องเดิม: ตรวจสภาพการยึดเกาะของกระเบื้องเดิมกับพื้นผิว รื้อกระเบื้องที่ไม่แน่นออกแล้วปูใหม่

    ข้อแนะนำอื่นๆ:

    • สำหรับพื้นผิวที่สามารถโก่งตัวหรือบิดรูป เช่น ยิปซัมบอร์ด แผ่นไม้อัดซีเมนต์ ควรตีโครงและยึดสกรูทุกๆ 900 ตร.ซม. (30 x 30 ซม.)
    • อุดรอยต่อของไม้ ไม้อัดซีเมนต์ ด้วยวัสดุยืดหยุ่น Special Silicone Sealant
    • รอยต่อระหว่างแผ่นไม้ ไม้อัดซีเมนต์ ควรติดตั้งตาข่ายไฟเบอร์ขนาดกว้าง 10 ซม.
    • กรณีปูกระเบื้องบนพื้นไม้ ไม้อัดซีเมนต์ ควรทาน้ำยารองพื้น เวเบอร์พริม 2 เพื่อเพิ่มการยึดเกาะและป้องกันไม่ให้ น้ำจากกาวซีเมนต์ไปมีผลทำให้ไม้เกิดการแอ่นตัว
    • กรณีปูกระเบื้องทับกระเบื้องเดิม ควรทาน้ำยารองพื้น เวเบอร์พริม 2 เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ
  •  

    ปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์

    • เลือกประเภทกาวซีเมนต์ตามชนิดของกระเบื้องและลักษณะการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม การแยกประเภทของกระเบื้องตามค่าการดูดซึมน้ำ
    • ใช้เกรียงหวีในการปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์
    • กรณีกระเบื้องขนาดใหญ่กว่า 25X25 ซม. หรือหลังกระเบื้องที่แผ่นหลังไม่เรียบมีร่องลึก ควรปาดกาวซีเมนต์ 2 ชั้น คือ ที่พื้นผิวและปาดเบาๆ ที่หลังกระเบื้อง
    • หลังจากปูกระเบื้องเสร็จแล้ว ทิ้งไว้ 24 ชม. ก่อนยาแนว
    • ยาแนวด้วยยาแนวที่เหมาะสมกับประเภทลักษณะการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์สำหรับโซลูชั่นนี้

Find all our products near you in more than 2000 outlets