การปูกระเบื้องบริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรม

บริเวณลานจอดรถหรือห้างสรรพสินค้า จัดเป็นพื้นที่ใช้งานหนักเพราะมีการสัญจรไปมาสูง การปูกระเบื้องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกกาวที่มีความยืดหยุ่นสูง

ปัญหา

เลือกกาวซีเมนต์ที่เหมาะกับการใช้งาน

บริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรม จัดเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานหนัก การสัญจรไปมาสูง การเลือกใช้กาวซีเมนต์จำเป็นต้องพิจารณา

1. เป็นกาวซีเมนต์ที่มีส่วนผสมของสารโพลีเมอร์ ที่มีความสามารถในการยึดเกาะสูง

2. เป็นกาวซีเมนต์ที่มีความสามารถในการรับแรงกด (Compressive Strength) สูง เพื่อรองรับการใช้งานหนัก

3. เป็นกาวซีเมนต์ที่มีสารโพลีเมอร์ช่วยเรื่องความยืดหยุ่น และการรับแรงกระแทกได้ดี (Impact Load)

เลือกยาแนวที่เหมาะกับลักษณะการใช้งาน

ลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม การเลือกใช้ยาแนวพิจารณาจาก

1. ลานจอดรถ พื้นที่ขายในห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม ต้องการยาแนวที่มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการขยายตัวของกระเบื้องและพื้นผิว

2. บริเวณพื้นที่เปียกชื้น (Wet & Fresh Areas) ห้องเย็น (Cold Area) โรงงานที่เกี่ยวกับอาหาร ต้องเลือกใช้ยาแนวที่รูพรุนต่ำ ไม่เป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค ทนทานต่อสารเคมีหรือน้ำยาซักล้าง รวมทั้งน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ

บริเวณที่ใช้งานหนักพื้นผิวจะมีการเคลื่อนตัวมากด้วย

บริเวณลานจอดรถ หรือห้างสรรพสินค้า เป็นบริเวณที่มีการสัญจรสูงและมักเป็นพื้นที่กว้าง จำเป็นต้องทำรอยต่อ (Movement Joint) เพื่อรองรับการเคลื่อนตัวของพื้นผิวเพื่อป้องกันปัญหากระเบื้องแตกและหลุดร่อน โดยควรทำรอยต่อ (Movement Joint) กว้างประมาณ 5-6 มม. ทุกๆ 60 ตารางเมตร สำหรับกระเบื้องขนาดเล็ก (ไม่เกิน 30x30 ซม.) และทุกๆ 30 ตารางเมตร สำหรับกระเบื้องแผ่นใหญ่มากกว่า 30x30 ซม.

แนวทางแก้ไข

การปูกระเบื้องบริเวณพื้นที่ที่ใช้งานหนักหรือสัญจรมาก ต้องเลือกใช้กาวซีเมนต์ชนิดยืดหยุ่นที่มีการยึดเกาะสูง รับแรงกด (Compressive strength) ได้สูง เพื่อรองรับน้ำหนักและการเคลื่อนตัวของกระเบื้องและพื้นผิว พร้อมกันนั้นการเลือกยาแนวก็จำเป็นต้องใช้ยาแนวที่มีความยืดหยุ่นสูงด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนการปูกระเบื้องบริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม

1. เตรียมพื้นผิว
  • กรณีพื้นปูนปรับระดับหรือปูนฉาบ ควรทิ้งให้ซีเมนต์แห้งอย่างน้อย 1-3 สัปดาห์
  • ทำรอยต่อ (Movement Joint) เพื่อรองรับการขยายตัวกว้างประมาณ 5-6 มม. อุดรอยต่อด้วย Special Silicone Sealants
  • บริเวณหักมุมหรือมุมเสาหรือบริเวณรอยต่อของพื้นผิวต่างชนิดกัน ควรเว้นรอยต่อประมาณ 5-6 มม. และอุดรอยต่อด้วย Special Silicone Sealants

2. ปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์ชนิดยืดหยุ่น เวเบอร์ไทล์ เฟล็กซ์

  • ทิ้งให้กาวซีเมนต์แห้งสนิทอย่างน้อย 24 ชม. ก่อนยาแนว

3. ยาแนวด้วยยาแนวตามลักษณะการใช้งาน
  • ควรเว้นร่องยาแนว 3-12 มม. เพื่อรองรับการขยายตัวของกระเบื้องและพื้นผิว
  • กรณีพื้นที่ใช้งานหนัก หรือสัญจรมาก เช่น ลานจอดรถ พื้นที่ขาย ในห้างสรรพสินค้า โรงงานอตุสาหกรรม ใช้ยาแนวยืดหยุ่น เวเบอร์คัลเลอร์ เอาท์ไซด์
  • กรณีห้องเย็น (Cold Area) พื้นที่เปียกชื้น (Wet and Fresh Areas) โรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องปลอดเชื้อและความทนทานต่อสารเคมี น้ำยาชะล้างต่างๆ ใช้ยาแนวอีพ๊อกซี่ เวเบอร์คัลเลอร์ พ๊อกซี่

Find all our products near you in more than 2000 outlets